ความรู้เรื่องจักรยาน

วิธีการเลือกเบาะโดยวัดจากความกว้างของ Sit Bone ทุกท่านอาจจะสังเกตได้ว่า “เบาะที่มีความกว้างเท่ากัน อาจจะมีรูปทรงไม่เหมือนกัน” วันนี้เราจะมาพูดถึงรูปทรงของเบาะและความเหมาะสมในการใช้งานกัน รูปทรงเบาะจักรยาน : Flat vs Curved ผู้ผลิตเบาะจักรยานแต่ละเจ้าต่างก็มีแนวคิดในการออกแบบที่แตกต่างกัน ทำให้เบาะจักรยานในตลาดมีรูปร่างไม่ซ้ำแบบ แต่ก็สามารถจำแนกกลุ่มได้คร่าวๆ เป็น 2 แบบ เบาะ Flat มีลักษณะแบนราบ ตั้งแต่หัวเบาะยันท้ายเบาะ เบาะ Curve มีลักษณะโค้งที่บริเวณกลางหรือท้ายเบาะ ความโค้งมีได้หลายแบบ (โค้งมาก โค้งน้อย)   แล้วเราเหมาะกับเบาะแบบไหนหละ? เบาะ Flat เหมาะกับ: ผู้ปั่นที่ชอบเปลี่ยนตำแหน่งนั่งบนเบาะ เพราะสามารถขยับปรับเปลี่ยนตำแหน่งนั่งบนเบาะได้หลากหลายตามความถนัด (ขยับตำแหน่งนั่ง หน้า/หลัง) ผู้ปั่นที่มีความยืดหยุ่นดี สามารถปรับท่านั่งเพื่อรองรับพื้นที่นั่งส่วนที่แคบของเบาะได้   ผู้ปั่นที่มีความยืดหยุ่นดี เมื่อก้มตัวไปด้านหน้า กระดูกเชิงกรานจะยังตั้งขึ้นตรง ไม่เอนไปด้านหน้า ทำให้ Sit Bone ตั้งอยู่กับที่ 

เราจะมาพูดถึงส่วนของร่างกายที่สัมผัสกับเบาะจักรยาน นั่นก็คือ Sit Bone Sit Bones คืออะไร?  Sit Bones คือกระดูกส่วนที่รับน้ำหนักเวลาเรานั่ง ไม่ว่าจะบนเก้าอี้หรือเบาะจักรยาน ถ้ายังไม่รู้ว่าคือตรงไหน ให้สังเกตเวลาที่เรานั่งเก้าอี้หลังตรง เราจะรู้สึกว่ามีแรงกดที่สองจุดใต้ก้นเรา นั่นแหละคือ Sit Bones ของเรา   Sit Bones สำคัญอย่างไรกับการเลือกเบาะจักรยาน? “เลือกเบาะผิด ชีวิตเปลี่ยน…” โดยส่วนใหญ่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มปั่นจักรยานแบบจริงจังแล้ว มักจะเกิดอาการเจ็บก้น เป้าชา บางคนอาจจะเกิดอาการหลังจากปั่นได้ไม่กี่นาที บางคนอาจจะรู้สึกไม่สบายก้นตั้งแต่เริ่มนั่งบนเบาะ เหตุผลหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ “การเลือกใช้เบาะที่มีความกว้างไม่เหมาะสมกับตัวผู้ปั่น”   [ภาพจาก SQLab] เบาะที่แคบเกินไปจะทำให้เกิดแรงกดที่บริเวณฝีเย็บ (กลางเป้า) เบาะที่กว้างพอดีจะทำให้แรงกดลงเฉพาะบริเวณ Sit Bones ส่งผลให้อวัยวะส่วนอื่นไม่ถูกกดทับจนเกิดอาการ “เป้าชา”   แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า Sit Bones เรากว้างเท่าไหร่? เรามีวิธีวัดความกว้าง Sit Bones แบบง่ายๆ มาฝาก อุปกรณ์ที่ต้องใช้ เก้าอี้

อีกปัจจัยสำคัญสำหรับการเลือกเบาะ นั่นคือ “วัสดุ” ของเบาะจักรยาน แต่ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จักกับเบาะจักรยานแบบคร่าวๆ กันก่อน เบาะจักรยาน ประกอบไปด้วยสามส่วนหลักๆ นั่นคือ ผิวเบาะ (Padding) – เป็นส่วนที่สัมผัส (Contact Point) ระหว่างจักรยานและผู้ปั่น ฐานเบาะ (Shell) – เป็นส่วนที่รองรับเบาะและต่อกับรางเบาะ รางเบาะ (Rail) – มีหน้าที่ยึดตัวเบาะกับหลักอาน   วัสดุเบาะจักรยาน วัสดุที่นำมาสร้างส่วนประกอบเหล่านี้สามารถบอกคุณได้คร่าวๆ ว่า เบาะจักรยานนั้นๆ เหมาะกับการใช้งานแบบไหน ผิวเบาะ ตัวอย่างวัสดุผิวเบาะ ผ้า, ยาง, วัสดุ Lycra, หนังแท้/หนังเทียม วัสดุที่จะนำมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน ผิวสัมผัสที่ได้ก็จะแตกต่างตามวัสดุที่นำมาใช้ ผิวเรียบ/เงา – เหมาะสำหรับการขี่ที่ต้องมีการลุกยืนสลับนั่งบ่อย เพื่อให้ขยับตัวได้ง่าย ลดการเสียดสีระหว่างกางเกงกับเบาะ ผิวด้าน -ให้การยึดเกาะที่ดี ให้ความรู้สึกการนั่งที่มั่นคง วัสดุรองเบา เบาะจะ “หนานุ่ม” หรือ “บางแข็ง” ขึ้นอยู่กับ

คุณเคยเจอปัญหาแบบนี้หรือไม่?  ซื้อเบาะใหม่มา รูปทรงถูกใจ สีโดนใจ เข้ากันกับเฟรม….“แต่ดันนั่งแล้วปวดก้น อึดอัด ไม่สบาย” ปั่นจักรยานมาตั้งนาน ยังหาเบาะที่เข้ากับตัวเองไม่ได้ซักที เพราะ “เบาะ” เป็นหนึ่งในสามจุดสัมผัส (Contact Point) ระหว่างผู้ขี่และจักรยาน เป็นอุปกรณ์ที่ต้องสัมผัสผู้ขี่มากที่สุด ดังนั้นการเลือกใช้เบาะที่เหมาะสมย่อมมีความสำคัญมากกกกก (ก.ไก่ล้านตัว)     แต่ก่อนที่ตัดสินใจเลือกซื้อเบาะมาใช้ซักใบ เรามาทำความเข้าใจกับสองปัจจัยสำคัญที่ควรคำนึงถึงนั่นคือ “ประเภทของเบาะจักรยาน” และ “ประเภทการใช้งาน”     ประเภทของเบาะจักรยาน เบาะแข่งขัน – เบาะแบบเน้นประสิทธิภาพ ด้วยธรรมชาติของการแข่งขันที่ผู้ขี่จะต้องมีการลุกยืน Sprint สลับกับการนั่ง การเสียดสีกับเบาะจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้   ท่ายืนปั่นเพื่อประสิทธิภาพ (เหล่า Pro Rider ผ่านการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี)   เบาะแข่งขันส่วนใหญ่จึงถูกออกแบบมาให้แคบ และมีวัสดุ padding ที่บาง เพื่อให้ผู้ปั่นสามารถขยับตัวบนเบาะได้โดยไม่เกิดการเสียดสีมากเกินไป พอผู้ขี่รู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ก็สามารถออกแรงได้อย่างมั่นใจ